top of page

อากาศภายนอกสำหรับห้องพักโรงแรม ห้องชุดอพาร์ทเมนท์และหอพัก

เพื่อให้ห้องพักโรงแรม ห้องชุดอพาร์ทเมนท์และหอพักมีสิ่งแวดล้อมถูกสุขลักษณะ จะต้องมีการระบายอากาศและต้องคำนึงถึงการนำอากาศภายนอกเข้าซึ่งมักจะถูกละเลย ในบทความนี้เป็นแนวทางการเติมอากาศภายนอกที่อ้างอิงจากอีกมาตรฐานหนีงที่ในประเทศเราไม่คุ้นเคยแต่ก็น่าจะนำมาใช้ได้ถ้าไม่ขัดกับกฏหมายไทย

การออกแบบอาคารหรือปรับปรุงการใช้อาคารเป็นโรงแรม อพาร์ทเมนท์และหอพัก IMC(International Mechanical code) จัดทำโดย International Code Council ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในอเมริกาและอีกหลายประเทศ IMC2015(ล่าสุด2018)ได้กล่าวถึงการนำอากาศภายนอกเติมอาคารไว้ดังนี้

- ระบายอากาศโดยธรรมชาติ section 402.1 ให้มีช่องเปิดซึ่งอาจเป็นประตู หน้าต่าง เกล็ดหรืออื่นๆที่สามารถเข้าถึงและเปิดได้โดยผู้อยู่อาศัย 402.2 ช่องเปิดมีพื้นที่ม่น้อยกวา 4%ของพื้นที่ห้อง ผู้ออกแบบต้องหาวิธีที่จะดึงลมเข้าจากภายนอกเอง 402.3 ห้องติดกันต้องมีช่องเปิดไม่น้อยกว่า 8%ของพื้นที่ห้องนั้นไม่ต่ำกว่า 2.3ตรม. (25ตรฟ.) เพื่อให้ลมผ่านจากห้องที่ติดผนังนอกมาที่ห้องภายในได้

- เพื่อทดสอบลักษณะการก่อสร้างอาคารต้องมีเครื่องมือทดสอบการนำอากาศภายนอกเข้าอาคาร section 1203.1 กำหนดการนำอากาศเข้า 5 ACH โดยการทดสอบอัดลมเข้าบ้านด้วยพัดลมให้มีความดัน 0.2in.wc.(50Pa) ความดันนี้เท่ากับความเร็วลมประมาณ9ม./วินาที ถ้าอัตราการไหลอากาศไม่ถึง 5 ACH ต้องติดตั้งพัดลมช่วยส่งอากาศเข้าอาคาร

- พัดลมจ่ายอากาศภายนอกเข้าพื้นที่อาศัยโดยตรงที่ใดก็ได้เนื่องจากภายในมีช่องเปิดขนาดใหญ่อยู่ และจะต้องทำงานตลอดเวลา และยอมใช้อุปกรณ์ควบคุมแต่ต้องเปิดอย่างน้อย 1ชม.ในเวลา 4ชม. โดยมีอัตราการนำอากาศเข้าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าที่อาคารต้องการ

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการเติมอากาศภายนอกพรัอมข้อสังเกตุทั้งสิ้น5แบบ

แบบที่ 1 การนำอากาศภายนอกเข้าโดยธรรมชาติ

– ทั้งหมดไม่รวมห้องนอนAHU

– อากาศผ่านรอยรั่วของประตู หน้าต่างไม่พอที่จะให้อากาศภายนอกเข้าโดยธรรมชาติได้พอ จะต้องมีช่องเปิดหรือเปิดหน้าต่าง

– และเมื่อทดสอบแล้วอัตราการไหลของอากาศน้อยกว่า 5 ACHต้องใช้พัดลมอัดอากาศภายนอกเข้าพื้นที่และไล่อากาศออกจากช่องเปิดได้

แบบที่ 2 จ่ายอากาศภายนอกที่ปรับสภาพแล้วตรงเข้าพื้นที่

– ใช้ท่อลมพาอากาศที่ปรับสภาพแล้วมาจ่ายที่ห้องนั่ง เล่น ส่วนห้องน้ำและครัวจะระบายอากาศออก

– ห้องนอนอาจใช้รอยรั่วหน้าต่างและประตูภายใน

แบบที่ 3 จ่ายอากาศที่ปรับสภาพแล้วเข้าAHU

– ใช้ท่อลมพาอากาศที่ปรับสภาพแล้วมาจ่ายที่AHU ที่จ่ายให้ห้องนอน

– พื้นที่อื่นเป็นการนำอากาศเข้าโดยธรรมชาติ

แบบที่ 4 ท่อดิ่งนำอากาศภายนอกให้แก่AHU

– ตามรูปไม่มีพัดลมจ่ายแต่ให้AHUที่ทำงานดูดเองจะเกิดปัญหาดูดอากาศจากอีกห้องได้

แบบที่ 5 ปรับปรุงหอพักที่มีปัญหาความชื้นและเชื้อรา

– นำอากาศที่ปรับสภาพดึงความชื้นออกด้วยFAU 100%ผ่านท่อแนวดิ่งมาที่ชั้นและส่งเข้าแต่ละห้องและที่ทางเดิน

– แต่ในรูปจ่ายเฉพาะทางเดิน หอพักใช้ห้องน้ำรวมอากาศภายนอกส่วนหนึ่งจะถูกดึงเข้าห้องน้ำรวม ส่วนที่เหลือจึงจะเข้าห้องพัก ซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานในการปรับสภาพ จึงควรเป็นอากาศภายนอกที่ไม่ได้ปรับสภาพแทนและเติมอากาศภายนอกผ่านรอยรั่วของหน้าต่าง

สรุป

การระบายอากาศต้องคำนึงถึงการเติมอากาศภายนอกด้วย

เกณฑ์สำหรับการใช้ระบบพัดลมเติมอากาศคือการทดสอบ 5 ACHที่ความดัน0.2in.wc(50Pa)

ถ้าออกแบบอาคารควรมีข้อมูลการรั่วไหลของหน้าต่าง

ถ้ามีอากาศรั่วไหลได้มากจเปลืองพลังงานมากสำหรับอาคารปรับอากาศ

เอกสารอ้างอิง จากบทความเรื่อง Outside Ventilation Air in Apartments and Dormitories, Dan Reider, P.E., ES Engineering System, June 2019 Vol.36 No.6

Comments


bottom of page